top of page
  • รูปภาพนักเขียนพญ. ฐิติพรรณ ชยวงศ์รุ่งเรือง (หมอชะเอม)

เข้าใจอาการก่อนมีประจำเดือน เพื่อหาวิธีรับมือ

อัปเดตเมื่อ 28 มี.ค.


คลินิกสูตินรีเวช ให้บริการฝังยาคุม  และถอดยาคุมราคา 2900 บาท โดยสูตินรีแพทย์
คลินิกเฉพาะทางด้านสูตินรีเวช ให้บริการฝังยาคุม และถอดยาคุมโดยสูตินรีแพทย์

PMS (Premenstrual Syndrome) เป็นอาการที่ผู้หญิงทุกคนต้องพบเจอในช่วงหลายสัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ซึ่งมีทั้งอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์แตกต่างกันไปตามแต่ละคน โดยอาจมีอาการก่อนมีประจำเดือนได้ถึง 2 สัปดาห์ และอาการหมดไปเมื่อประจำเดือนมา 2-3 วัน แต่ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้


สำหรับสาว ๆ คนไหนที่ยังไม่รู้ว่า อาการก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS คืออะไร ในบทความนี้ แฮปปี้เบิร์ธคลินิก (happybirth clinic) จะพาไปทำความรู้จักกับอาการ PMS อย่างละเอียดเอง พร้อมแนะนำวิธีรับมือไม่ให้อาการ PMS ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลยค่ะ


PMS คืออะไร?

Premenstrual Syndrome หรือ PMS คือ กลุ่มอาการผิดปกติทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์ แล้วพอหมดประจำเดือนอาการนั้น ๆ ก็จะหายไป และจะกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งในช่วงที่ใกล้จะเป็นประจำเดือนในรอบถัดไป


ในปัจจุบันเรายังไม่ทราบสาเหตุการเกิดภาวะ PMS แน่ชัด แต่คาดว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งภาวะนี้สามารถส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้



PMS แตกต่างจาก PMDD อย่างไร?

PMS จะเป็นกลุ่มอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนในระดับทั่วไป ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากก่อนมีประจำเดือน จะเรียกว่า “PMDD” (Premenstrual Dysphoric Disorder) ซึ่งเป็นอาการผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์อย่างรุนแรงก่อนการมีประจำเดือน เช่น เครียดจัด โมโหร้าย หงุดหงิดมาก ปวดศีรษะมาก หรือซึมเศร้าอย่างมาก จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายได้เลย



อาการก่อนมีประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด

ตัวอย่างอาการก่อนมีประจำเดือนที่พบได้บ่อย ๆ มีดังนี้

  • สิวขึ้น : เมื่อใกล้เข้าสู่รอบประจำเดือน ระดับฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลง และแตกต่างไปจากสภาวะปกติ จนทำให้มีการผลิตน้ำมันบนผิวออกมามากขึ้น และเมื่อรูขุมขนถูกอุดตันด้วยน้ำมันบนผิวส่วนเกินหรือเซลล์ที่ตายแล้ว ก็จะทำให้เกิดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการเกิดสิวได้

  • เจ็บเต้านม : เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนในร่างกาย โดยมักจะมีอาการในช่วงการมีประจำเดือน และค่อย ๆ ลดลงเมื่อประจำเดือนรอบนั้นหมดลง หรืออาจปวดระหว่างรอบเดือนไม่กี่วันก็ได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิงอายุประมาณ 20-30 ปี และอาจพบได้น้อยลงในผู้หญิงอายุ 40 ปี เพราะใกล้เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

  • ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ : เกิดจากฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการบีบตัวและหดเกร็ง โดยจะมีตั้งแต่อาการปวดหน่วงหรือปวดเกร็งเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงอาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณท้องน้อย นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดหลังด้านล่าง ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ เป็นต้น

  • รู้สึกท้องอืดหรือน้ำหนักขึ้น : ในช่วงตกไข่ ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าปกติ นอกจากนี้ช่วงก่อนมีประจำเดือนผิวภายในโพรงมดลูกจะหนาตัวขึ้น และมีเลือดคั่งอยู่ปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการบวมน้ำ ท้องอืด หรือรู้สึกว่าน้ำหนักขึ้นได้ แต่หากเยื่อภายในมดลูกออกมาเป็นประจำเดือนหมดแล้ว อาการบวมน้ำ และน้ำหนักก็จะลดลงกลับไปเป็นเหมือนเดิม

  • อารมณ์เเปรปรวน : เป็นอาการก่อนมีประจำเดือนที่สาว ๆ ส่วนใหญ่ต้องพบเจอ และไม่ได้สร้างผลกระทบต่อสภาพจิตใจของตัวเองเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของคนรอบข้างได้อีกด้วย โดยจะมีอาการหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย เครียด เป็นกังวลหรือซึมเศร้า ซึ่งสาเหตุก็มาจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีระบบสารรับรู้ในเรื่องของอารมณ์ตอบสนองผิดปกติต่อฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนแปลง

  • นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย : ในช่วงก่อนมีประจำเดือน การหลั่งของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เอสโตรเคน และเมลาโทนินที่มีส่วนช่วยในการนอนหลับจะลดลง จะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ และอ่อนเพลียได้ ซึ่งอาการนี้ก็จะส่งผลให้เกิดอารมณ์แปรปรวนที่รุนแรงมากขึ้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานต่ำลงได้อีกด้วย

  • อยากอาหารมากกว่าปกติ : เกิดจากระดับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนถูกหลั่งออกมามากเกินไป จนทำให้ร่างกายต้องการสารอาหารมาทดแทนส่วนที่เสียไปพร้อมกับเลือดที่ออกมา รวมถึงเพื่อลดการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกิดจากความเครียด


มีอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน ทำอย่างไรดี?

แม้ว่าภาวะ PMS จะเป็นอาการก่อนมีประจำเดือนที่สามารถเกิดขึ้นได้กับสาว ๆ ทุกคน แต่ก็ไม่ควรที่จะปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติ หรือโรคร้ายต่าง ๆ ได้


หากสาว ๆ มีอาการ PMS หรือ PMDD ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ควรที่จะไปพบคุณหมอตั้งแต่เนิ่น ๆ คุณหมอจะช่วยตรวจคัดกรองความผิดปกติด้วยวิธีต่างๆ เช่น ตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ แล้วให้การรักษาอย่างเหมาะสม


นอกจากนี้คุณหมอยังสามารถให้คำแนะนำการดูแลตัวเองในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือนที่เหมาะสมกับแต่ละคน ซึ่งอาจช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือนลง และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้


ถอดเข็มยาคุม ที่คลินิกสูตินรีเวช ราคา 2900 บาท
สูตินรีแพทย์ให้คำปรึกษา เรื่องอาการก่อนมีประจำเดือน

อาการเมนส์จะมา VS อาการคนท้อง

เนื่องจากอาการของคนที่กำลังตั้งครรภ์ และอาการก่อนมีประจำเดือน มีความคล้ายคลึงกันในหลาย ๆ ด้าน เช่น อาการเจ็บเต้านม อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ปวดเกร็งท้อง หรือมีเลือดออกกะปริบกะปรอย เป็นต้น ทำให้สาว ๆ หลายคนเกิดความสงสัยหรือไม่แน่ใจว่า อาการที่เกิดขึ้นคืออาการของคนที่กำลังตั้งครรภ์ หรือเป็นเพียงอาการก่อนมีประจำเดือนมากันแน่


หากคุณเป็นคนที่อยู่ในช่วงวางแผนจะตั้งครรภ์อยู่แล้ว และมีอาการคล้ายกับตั้งครรภ์ วิธีที่จะแยกความแตกต่างของอาการตั้งครรภ์กับอาการก่อนประจำเดือนที่ชัดเจนที่สุดก็คือการตรวจตั้งครรภ์กับคุณหมอค่ะ


โดยที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิก เราจะตรวจการตั้งครรภ์ด้วยการตรวจเลือดของคุณแม่เพื่อหาค่าฮอร์โมนเอซซีจี ซึ่งสามารถตรวจพบได้หลัง 7- 10 วันหลังปฏิธิสนธิเป็นต้นไป และมีความแม่นยำสูงถึง 100% นอกจากนี้เรายังเป็นคลินิกสูตนรีเวชที่เป็นมีสูตินรีแพทย์ประจำอยู่ที่คลินิก หากตรวจพบการตั้งครรภ์แล้ว ก็สามารถฝากครรรภ์ครั้งแรกกับเราได้เลยค่ะ


ถอดเข็มยาคุม ราคา 2900 บาท

สรุปค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่เรารวบรวมมาให้ เมื่อได้เข้าใจกันไปแล้วว่า อาการก่อนมีประจำเดือน หรืออาการ PMS คืออะไร ก็อย่าลืมสังเกตพฤติกรรมหรืออาการต่าง ๆ ของตัวเอง และหาวิธีรับมืออาการเหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทั้งกับตัวเองและคนรอบข้าง นอกจากนี้สำหรับคนที่มีอาการก่อนเป็นประจำเดือน แต่ประจำเดือนกลับไม่มาตามรอบ ก็ควรจะรีบตรวจครรภ์ในทันที เพราะหากตั้งครรภ์ขึ้นมาก็จะได้ฝากครรภ์ครั้งแรก เพื่อประเมินความเสี่ยง และเฝ้าระวังความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ได้ค่ะ

bottom of page