top of page
antenatal care

"มีบุตรยาก" เกิดจากอะไรได้บ้าง
เข้าใจสาเหตุ เพื่อก้าวต่อไป

"แต่งงานตั้งหลายปี ทำไมไม่มีลูกสักที" - หมอเชื่อว่าคำถามนี้คงอยู่ในใจคู่รักหลายๆ คนที่อยากจะมีเจ้าตัวน้อยใช่ไหมคะ?

 

นอกจากความสุขของการมีชีวิตคู่แล้วการมีเจ้าตัวน้อยเป็นเหมือนของขวัญอันล้ำค่าสำหรับคู่รักหลายๆ คู่ แต่เส้นทางสู่การเป็นพ่อแม่นั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป สำหรับคู่รักที่เผชิญกับภาวะมีบุตรยากหรือมีความกังวลเรื่องนี้ บทความนี้หมอจะนำเสนอความรู้เกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก พาว่าที่คุณพ่อและคุณแม่ไปไขข้อข้องใจ เข้าใจสาเหตุ และเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมๆ กันค่ะ

ภาวะมีบุตรยากคืออะไร

ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง คู่สามีภรรยาที่พยายามมีลูกตามธรรมชาติเป็นระยะเวลา 1 ปี  โดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และไม่ได้คุมกำเนิด แต่ก็ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เช่นนี้เข้าเกณฑ์ผู้มีบุตรยากค่ะ ซึ่งเมื่อเข้าเกณฑ์นี้แล้วคุณหมอแนะนำให้เข้ามาปรึกษาและตรวจหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก เพื่อวางแผนในการมีบุตรค่ะ

เมื่อไหร่ควรพบหมอเพื่อตรวจภาวะมีบุตรยาก

👩🏻‍⚕️ คู่สามีภรรยาควรปรึกษาคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสูติกรรมและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์เรื่องตรวจมีบุตรยากในกรณีดังต่อไปนี้ค่ะ

  • พยายามมีลูกตามธรรมชาติเป็นระยะเวลา 1 ปี (สำหรับผู้หญิงอายุต่ำกว่า 35 ปี) หรือ 6 เดือน (สำหรับผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป) แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

  • เคยมีภาวะแท้งซ้ำ

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • มีอาการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ตกขาวผิดปกติ

  • ฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ

 

สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

👩🏻‍⚕️ สาเหตุของการมีบุตรยากสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

ปัจจัยฝ่ายหญิง (Female factors) 

  1. มีบุตรยากจากปัจจัยจากรังไข่ (Ovarian factors) แบ่งออกเป็น 

    • การตกไข่ผิดปกติ (Ovulation dysfunction)

      พบได้ถึง 15% ของคู่สมรสที่มีบุตรยาก คุณผู้หญิงจะมีประวัติประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือประจำเดือนมาห่าง พบได้ในกลุ่มคนไข้ PCOS หรือไทรอยด์ผิดปกติ หรือบางรายมีฮอร์โมนโปรแลคตินในเลือดสูง รวมไปถึงน้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยไป

    • ปริมาณฟองไข่ที่สำรองลดลง (Diminished ovarian reserve)

      ลดลงไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ และปริมาณ ปัจจัยหลักคืออายุที่มากขึ้น นอกจากนี้อาจจะมาจากการเคยผ่าตัดหรือเคยได้ยาที่ทำให้ไข่ลดลงได้

  2. มีบุตรยากจากปัจจัยจากท่อนำไข่ (Tubal factors)
    พบว่าเป็นสาเหตุได้ถึง 25-35% สาเหตุของท่อนำไข่ตัน ได้แก่ มีพังผืดที่ท่อนำไข่ อาจเกิดได้จากเคยติดเชื้อที่อุ้งเชิงกราน หรือเคยผ่าตัดบริเวณท้องน้อย/ปีกมดลูก หรือกลุ่มโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ 

  3. มีบุตรยากจากปัจจัยจากมดลูก (Uterine factors)
    พบได้ 16% ของสตรีที่มีภาวะมีบุตรยาก สภาวะของมดลูกที่ส่งผลให้มีบุตรยากได้แก่ เนื้องอกมดลูก (Myoma Uteri) เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ในกล้ามเนื้อมดลูก (Adenomyosis) ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (Endometrail polyp) และพังผืดในโพรงมดลูก (intrauterine adhesion)

  4. มีบุตรยากจากปัจจัยจากปากมดลูก (Cervical factors)
    สาเหตุนี้พบได้น้อย ผู้ป่วยจะมีประวัติเคยผ่าตัดบริเวณปากมดลูก หรือมีภาวะปากมดลูกตีบ

ปัจจัยฝ่ายชาย (Male factors)

พบได้ประมาณ 20% ของคู่สมรสที่มีบุตรยาก เบื้องต้นจะพบการตรวจน้ำเชื้อ (Semen analysis) ผิดปกติ สาเหตุแบ่งได้เป็น

  1. สาเหตุจากไฮโปทาลามัสและต่อมใต้สมอง 

  2. สาเหตุจากอัณฑะ

  3. สาเหตุจากท่อนำอสุจิ


ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้น้ำเชื้อฝ่ายชายผิดปกติ ได้แก่ โรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ไทรอยด์ การใช้ยาบางชนิดเช่นเคมีบำบัด รังสีรักษา การใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ รวมไปถึงการที่เคยมีอุบัติเหตุบริเวณอัณฑะ

ไม่ทราบสาเหตุ (Unexplained Infertility)

​พบได้มากถึง 35-40% ของคู่สมรสที่มีบุตรยากที่ตรวจทั้งฝ่ายหญิงและชายปกติ 
 

ตรวจภาวะมีบุตรยาก ตรวจอะไรบ้าง

👩🏻‍⚕️ เมื่อมาปรึกษาคุณหมอที่คลินิก คุณหมอจะมีการตรวจ แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้ค่ะ

 

1. ตรวจประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยการมีบุตรยาก

ด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกาย ประวัติที่สำคัญได้แก่ประวัติการมีบุตรมาก่อน ประวัติการมีประจำเดือน โรคประจำตัว ประวัติการผ่าตัด การทำหมัน ยาที่ใช้ประจำ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ ประวัติการมีโรคติดเชื้อเพศสัมพันธ์ ภาวะติดเชื้ออุ้งเชิงกราน การปวดประจำเดือน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น

 

2. ตรวจภายใน

ในบางรายจะสามารถประเมินได้ทั้งปากมดลูก เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ พังผืดที่อุ้งเชิงกราน บางรายจะสามารถประเมินได้ทั้งปากมดลูก เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ พังผืดที่อุ้งเชิงกราน

3. ตรวจอัลตราซาวด์
การอัลตราซาวด์ประเมินความผิดปกติของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้แก่ เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่  ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ในบางรายต้องประเมินท่อนำไข่ว่าตันหรือไม่

4. ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ในฝ่ายชาย การตรวจน้ำเชื้อ (Semen Analysis) จะสามารถประเมินปริมาณ รูปร่าง และการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม ส่วนในฝ่ายหญิงจะประเมินทั้งฮอร์โมน และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมไปถึง


นอกจากการตรวจแล้ว คุณหมอจะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการมีบุตรยาก และให้การรักษาในรายที่พบสาเหตุที่แก้ไขได้ หรือแนะนำการผ่าตัด รวมไปถึงการให้ยาบำรุง โดยส่วนมากในรายที่อายุไม่มาก และท่อนำไข่ปกติ คุณหมอจะแนะนำให้ใช้วิธีที่ใกล้เคียงธรรมชาติก่อน เช่น การให้ยากระตุ้นไข่เพื่อให้ไข่ตก และนับวันไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ หรืออาจจะใช้วิธีการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูกในช่วงที่ไข่ตก (Intrauterine Insemination - IUI) หรือการผสมเทียม ในรายที่มีข้อบ่งชี้ หากทำเช่นนี้ 3-4 รอบแล้วไม่ตั้งครรภ์ คุณหมอจะแนะนำการรักษาขั้นตอนถัดไปคือ Invitro Fertilization หรือ IVF นั่นเองค่ะ

สรุปเรื่องภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก ถึงแม้จะไม่ใช่โรคชัดเจน แต่ก็ทำให้คู่สมรสที่อยากมีเจ้าตัวน้อยทุกข์ใจไม่น้อย หากใครที่สงสัยว่าตัวเองเข้าข่ายมีบุตรยาก ขอให้ลองเข้ามาปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อนจะดีกว่าค่ะ เพราะหากลองมีเองแล้ว น้องยังไม่มาเสียที แล้วรอต่อไป สาเหตุที่แก้ไขได้อาจจะแก้ไขได้ยากขึ้น หรือบางรายให้การช่วยเหลือกระตุ้นไข่และนับวันไข่ตก เพียงเท่านี้ก็สามารถประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้

แพ็กเกจเพื่อคัดกรองภาวะมีบุตรยาก ที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิก

👩🏻‍⚕️แฮปปี้เบิร์ธคลินิก คลินิกสูตินรีเวช ให้บริการตรวจมีบุตรยาก สำหรับว่าที่คุณแม่และคุณพ่อโดยเฉพาะ โดยมีรายละเอียดรายการตรวจและราคา ดังนี้

โปรแกรมตรวจมีบุตรยาก ราคา 14,500 บาท

แพ็กเกจเพื่อคัดกรองภาวะมีบุตรยาก (ตรวจทั้งชายและหญิง) | Pre-IVF Package

👩🏻‍⚕️ แพ็กเกจตรวจมีบุตรยาก ราคา 14,500 บาท ตรวจทั้งชายและหญิง  รวมค่าบริการทางการแพทย์แล้ว โดยมีรายการตรวจ ดังนี้

  • ตรวจระดับฮอร์โมน AMH (Anti-Müllerian Hormone)

  • ตรวจคัดกรองโรคไทรอยด์ (TSH - Thyroid Stimulating Hormone)

  • ตรวจระดับฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin Hormone)

  • ตรวจประเมินโพรงมดลูกและท่อนำไข่ โดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทาง

  • ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ (Semen Analysis)

  • ปรึกษาวางแผนมีบุตร

  • รับยาบำรุงครรภ์

*ค่าบริการแพ็กเกจ เป็นอัตราค่ารักษาพยาบาล ปี 2567 อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่คลินิกเพิ่มเติม

สามีและภรรยาที่สนใจตรวจ แพ็กเกจเพื่อคัดกรองภาวะมีบุตรยาก สามารถจองคิวใช้บริการได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-442-9355 (ตามเวลาทำการคลินิก) หรือ เฟสบุ๊กเพจ happybirth กับหมอชะเอม ได้เลย จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการด้านการนัดหมายและการให้ข้อมูลค่ะ

แพ็กเกจเพื่อคัดกรองภาวะมีบุตรยาก.webp

รู้จัก 'แฮปปี้เบิร์ธ คลินิก'

'แฮปปี้เบิร์ธ' เป็นคลินิกเฉพาะทางด้านสูตินรีเวชเล็กๆ ที่หมอตั้งใจเปิดขึ้นเพื่อดูแลสุขภาพผู้หญิงทุกคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นสาวน้อยหรือสาวใหญ่ ว่าที่คุณแม่หรือคุณแม่เต็มตัว คุณป้าหรือคุณยาย ให้ "แฮปปี้" ทั้งร่างกายและจิตใจ ด้วยการดูแลให้คำปรึกษาและรักษาอย่างใกล้ชิดในบรรยากาศที่สบายๆ ตั้งแต่การตรวจสุขภาพ การรักษาโรคผู้หญิง การเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ การคลอด ไปจนถึงการดูแลหลังคลอด และวัยทอง

พญ. ฐิติพรรณ ชยวงศ์รุ่งเรือง (หมอชะเอม)

การศึกษา

- พบ. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- วุฒิบัตรแพทย์เฉพาะทางสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา

ประสบการณ์ทำงาน

รพ. เจริญกรุงประชารักษ์ 2559 - 2562

รพ. สิรินธร 2562 - 2566

S__26042384_edited.png

จองแพ็กเกจเพื่อคัดกรองภาวะมีบุตรยาก ที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิกได้แล้ววันนี้

แฮปปี้เบิร์ธคลินิก พร้อมช่วยให้การตั้งครรภ​์เป็นเรื่องง่าย ด้วยแพ็กเกจเพื่อคัดกรองภาวะมีบุตรยากที่รวมรายการตรวจสุขภาพครบทั้งฝั่งคุณพ่อและคุณแม่

นอกจากแพ็กเกจเพื่อคัดกรองภาวะมีบุตรยาก เรายังมีบริการฝากครรภ์คุณภาพ ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมคุณหมอเฉพาะทางสูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวเชี่ยวชาญด้านการฝากครรภ์ พร้อมดูแลครบวงจร ตั้งแต่วันแรกที่ตรวจการตั้งครรภ์ คลอด จนถึงหลังคลอด อีกทั้งสาว ๆ ยังสามารถตรวจสุขภาพทางนรีเวชได้อย่างสบายใจ เพราะดูแลโดยคุณหมอผู้หญิงรุ่นใหม่ที่เข้าใจคุณแม่ทุกวัย ไม่ต้องกลัวเขินอายเลยค่ะ

คู่รักคู่ไหนที่สนใจ สามารถติดต่อนัดหมาย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์  081-442-9355 (ตามเวลาทำการคลินิก) และเฟสบุ๊กเพจ happybirth กับหมอชะเอม เรามีเจ้าหน้าที่ใจดีคอยให้บริการด้วยความอย่างใส่ใจ ทักมาได้เลยค่ะ ไม่ต้องรอ!

นัดไว้หน่อย... ไม่คอยนาน

นัดหมายมาตรวจภายใน หรือฝากครรภ์ที่คลินิกผ่านระบบจองออนไลน์

ง่าย สะดวก
นัดง่าย เลือกวันเวลาได้เอง เลื่อนสะดวก ทำได้เอง พร้อมยืนยันทันที


ไม่ลืมแน่นอน
ก่อนถึงวันนัดจะมีข้อความแจ้งเตือนทาง Facebook หรือ SMS


เป็นส่วนตัว
อาการเบื้องต้นเป็นอย่างไร
พิมพ์ไว้ให้คุณหมอเลย ไม่ต้องเขิน

bottom of page