top of page
  • รูปภาพนักเขียนพญ. ฐิติพรรณ ชยวงศ์รุ่งเรือง (หมอชะเอม)

“ท้องนอกมดลูก” ภาวะอันตรายต่อคุณแม่และทารกที่ต้องให้ความสำคัญ

อัปเดตเมื่อ 28 มี.ค.


ท้องนอกมดลูก ตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์และคลอดลูกถือเป็นภาวะเสี่ยงของสุขภาพมารดา ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตัวเองมีแนวโน้มจะตั้งครรภ์ก็ควรรีบไปตรวจตั้งครรภ์โดยเร็วที่สุด และเข้ารับการฝากครรภ์ครั้งแรกตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่คุณแม่จะได้รับการดูแลโดยสูตินรีแพทย์ และช่วยการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่นค่ะ

ในบทความนี้ แฮปปี้เบิร์ธคลินิก (happybirth clinic) จะพาคุณไปรู้จักกับการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “ท้องนอกมดลูก” หนึ่งในภาวะผิดปกติของตั้งครรภ์ที่คุณแม่ต้องรู้ และเป็นสาเหตุสำคัญที่เราควรไปตรวจตั้งครรภ์กับคุณหมอ จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลยค่ะ


ท้องนอกมดลูกคืออะไร?

ท้องนอกมดลูก คือ ภาวะที่การตั้งครรภ์อยู่บริเวณอื่นนอกโพรงมดลูก โดยส่วนใหญ่จะพบว่าตัวอ่อนไปฝังตัวอยู่บริเวณท่อนำไข่ แต่ก็สามารถพบการฝังตัวของตัวอ่อนที่บริเวณอื่น ๆ ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ปากมดลูก รังไข่ หรือในช่องท้อง จัดเป็นภาวะผิดปกติของการตั้งครรภ์ที่เมื่อพบแล้วจะต้องทำการยุติการตั้งครรภ์ทันทีค่ะ


ท้องนอกมดลูกอันตรายไหม?

ภาวะท้องนอกมดลูกมีความอันตรายมาก ถ้าหากไม่ได้ตรวจพบเจอและรีบทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะอวัยวะอื่น ๆ จะไม่สามารถขยายตัวรองรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ หากปล่อยทิ้งไว้ ก็จะทำให้อวัยวะนั้น ๆ ฉีกขาด ทำให้มีเลือดออกจำนวนมาก และสร้างความเจ็บปวดให้กับตัวคุณแม่ได้ค่ะ


ใครบ้างที่เสี่ยงท้องนอกมดลูก

ภาวะท้องนอกมดลูกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยผู้ที่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกมีดังนี้

  • มีประวัติตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน

  • เคยเข้ารับการผ่าตัดทางนรีเวชมากก่อน ไม่ว่าจะเป็น ช่องท้อง อุ้งเชิงกราน หรือท่อนำไข่ ส่งผลให้เกิดพังผืด หรือทำให้ท่อนำไข่ตีบตันจนทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

  • มีความผิดปกติของท่อนำไข่ เช่น การอักเสบเรื้อรัง มีพังผืด มีก้อนเนื้องอก หรือท่อนำไข่เติบโตได้ไม่ดี

  • ใช้ยาคุมฉุกเฉิน หรือคุมกำเนิดด้วยห่วงคุมกำเนิด

  • เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

  • มีภาวะมีบุตรยาก

  • สูบบุหรี่เป็นประจำ โดยสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้


ลักษณะอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของการท้องนอกมดลูก


คลินิกสูตินรีเวช คลินิกตรวจภายใน คลินิกฝากครรภ์ ลาดกระบัง รามคำแหง

อาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะท้องนอกมดลูก มีดังนี้

  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน

  • มีเลือดไหลออกช่องคลอดจำนวนมาก

  • มีเลือดออกกะปริบกะปรอยและมีสีน้ำตาลคล้ำ

  • ปวดร้าวบริเวณไหล่ คอ และ/หรือทวารหนัก

  • หน้ามืด เป็นลม หรือมีภาวะช็อค


ท้องนอกมดลูก ตรวจกี่สัปดาห์เจอ?

วิธีตรวจตั้งครรภ์ที่สามารถตรวจภาวะท้องนอกมดลูกได้ก็คือการตรวจอัลตราซาวด์ทารก โดยจะสามารถตรวจได้หลังจากที่มีอายุครรภ์ 5 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งการตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่จะสามารถบอกได้เลยว่าตำแหน่งถุงการตั้งครรภ์อยู่ในมดลูก หรืออยู่นอกมดลูก ซึ่งส่งผลต่อความปลอดภัยของการตั้งครรภ์อย่างมาก


ท้องนอกมดลูก ที่ตรวจครรภ์เจอไหม?

ที่ตรวจครรภ์เป็นเพียงวิธีการตรวจการตั้งครรภ์เบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งอาจมีผลลบลวง หรือผลบวกลวงได้ และไม่สามารถตรวจภาวะท้องนอกมดลูกได้ค่ะ สำหรับสาว ๆ คนไหนที่สงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์หรือไม่นั้น ในเบื้องต้นแนะนำให้ไปตรวจตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือดที่คลินิก หรือโรงพยาบาลจะดีกว่า เพราะมีความแม่นยำ 100% และสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ 7 - 10 วันหลังปฏิสนธิค่ะ


ตรวจตั้งครรภ์นอกมดลูกราคาเท่าไหร่?

การตรวจตั้งครรภ์นอกมดลูกด้วยวิธีตรวจอัลตราซาวด์ที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิก จะมีราคาค่าบริการ 1,900 บาท (รวมค่าบริการทางการแพทย์) สำหรับคุณแม่คนไหนที่ต้องการตรวจตั้งครรภ์นอกมดลูก สามารถจองคิวออนไลน์ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-442-9355 (ตามเวลาทำการคลินิก) หรือเพจ happybirth กับหมอชะเอม ได้เลยค่ะ คลินิกฝากครรภ์ของเรา ดูแลโดยคุณหมอผู้หญิงและเจ้าหน้าที่ผู้หญิงในทุกขั้นตอน เพื่อความสบายใจและเป็นส่วนตัวมากที่สุดค่ะ


สรุปค่ะ


คลินิกสูตินรีเวช คลินิกตรวจภายใน คลินิกฝากครรภ์ ลาดกระบัง รามคำแหง

การท้องนอกมดลูก หรือตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ที่เมื่อตรวจพบแล้วจะต้องทำการยุติการต้ังครรภ์ทันที เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่ได้ การไปตรวจครรภ์และฝากครรภ์กับคุณหมอจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และสำหรับคุณแม่คนไหนที่กังวลว่าเคยมีภาวะท้องนอกมดลูกแล้วจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก ไม่เป็นความจริงเสมอไปค่ะ คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง แต่จะต้องฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงอย่างเต็มที่ และไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการต้ังครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างปลอดภัยและประสบความสำเร็จค่ะ

bottom of page