top of page

คลินิกสูตินรีเวช ฝากครรภ์ ตรวจภายใน อัลตราซาวด์
บ้านก้ามปูอโศก   รามคำแหง 26/1   ลาดกระบัง 54

แนะนำขั้นตอนการฝากไข่ พร้อมวิธีเตรียมตัวที่สาว ๆ ต้องรู้

รูปภาพนักเขียน: พญ. ฐิติพรรณ ชยวงศ์รุ่งเรือง (หมอชะเอม)พญ. ฐิติพรรณ ชยวงศ์รุ่งเรือง (หมอชะเอม)

แนะนำขั้นตอนการฝากไข่ พร้อมวิธีเตรียมตัวที่สาว ๆ ต้องรู้

ด้วยลักษณะการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่คนนิยมทำงานและเก็บเงินให้พร้อมก่อนถึงค่อยวางแผนมีบุตร ทำให้คู่รักหลายคู่กว่าจะพร้อมมีลูกก็มีอายุที่มากแล้ว ผลที่ตามมาคือทำให้คุณแม่มีโอกาสตั้งครรภ์ลูกเป็นดาวน์ซินโดรมมากขึ้น หรือมีบุตรได้ยากขึ้นค่ะ


จากสาเหตุดังกล่าว จึงทำให้การฝากไข่เป็นที่นิยมในสาว ๆ ที่ยังไม่พร้อมจะตั้งครรภ์กัน เนื่องจากสามารถฝากไข่ได้นานสูงสุดถึง 10 ปี สามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้น หรือเข้าสู่วัยที่พร้อมได้ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดความผิดปกติของโครโมโซมได้ด้วยค่ะ


การฝากไข่คืออะไร 

การฝากไข่ (Oocyte Cryopreservation, Egg Freezing) เป็นขั้นตอนการรักษาคุณภาพเซลล์ไข่ของผู้หญิง เพื่อนำไปใช้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคต โดยสาว ๆ ที่ต้องการฝากไข่ จะต้องเข้ารับกระบวนการฝากไข่ ซึ่งจะประกอบไปด้วยการตรวจเลือดและฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อม การฉีดยากระตุ้นรังไข่ การติดตามขนาดไข่ และการฉีดยากระตุ้นไข่ให้ตก หลังจากนั้นจะต้องเข้ารับการเก็บไข่ และนำเซลล์ไข่ที่ได้ไปแช่แข็งไว้ที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียสค่ะ


ขั้นตอนการฝากไข่ที่สาว ๆ ต้องรู้


ขั้นตอนการฝากไข่ที่สาว ๆ ต้องรู้


เพื่อให้สาว ๆ เข้าใจกระบวนการฝากไข่มากขึ้น เราจะพาไปดูรายละเอียดขั้นตอนการเก็บไข่ผู้หญิงกันค่ะ


1. การร่างกาย ตรวจเลือด และฮอร์โมนต่างๆ 

ขั้นตอนแรกที่สาว ๆ จะต้องทำก็คือการตรวจเลือดและฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้ารับกระบวนการฝากไข่ ซึ่งแพทย์จะนัดให้เข้ามาตรวจร่างกายในช่วงวันที่ 2 หรือ 3 ของการมีประจำเดือนค่ะ โดยรายการตรวจจะประกอบไปด้วย

  • ตรวจภายในและตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ เพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธ์ุ ไม่ว่าจะเป็น รังไข่ ท่อนำไข่ หรือมดลูก

  • ตรวจเลือดเพื่อคัดกรองโรคติดเชื้อต่าง ๆ เช่น โรค HIV, ซิฟิลิส หรือไวรัสตับอักเสบบี

  • ตรวจเลือดเพื่อดูกรุ๊ปเลือด หาหมู่เลือดอาร์เอช (Rh Group) และดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC (Complete blood count)

  • ตรวจเลือดเพื่อคัดกรองโรคหัดเยอรมัน และพาหะธาลัสซีเมีย

  • ตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนรังไข่ โดยจะตรวจทั้ง  E2 (Estradiol), LH (Luteinizing Hormone), FSH (Follicle Stimulating Hormone) และ PRL (Prolactin)

  • ตรวจวัดระดับฮอร์โมนที่บ่งบอกปริมาณสำรองของไข่ที่เหลืออยู่ในรังไข่ หรือ AMH (Anti Mullerian Hormones)


2. ฉีดยากระตุ้นรังไข่

หลังจากที่เตรียมพร้อมร่างกายเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มเข้าสู่กระบวนฉีดยากระตุ้นไข่ ตัวยาจะประกอบด้วย Gonal F, Puregon, Pergoveris, Follitrope โดยปริมาณยาและตัวยาที่ใช้ในการฉีดจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับอายุและผลตรวจฮอร์โมน นอกจากนี้คุณหมอจะให้ฉีดยา Orgalutran ร่วมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไข่ตกก่อนเวลาค่ะ


3. ติดตามขนาดไข่

การฉีดยากระตุ้นไข่นั้น จะใช้ระยะเวลาการฉีดประมาณ 8-9 วัน ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของแต่ละคน ในระหว่างนั้น สาว ๆ จะต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจติดตามขนาดไข่ด้วย โดยคุณหมอจะดูได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดค่ะ 


4. ฉีดยากระตุ้นไข่ให้ตก

หลังจากที่ฉีดยากระตุ้นไข่จนได้ไข่ที่มีขนาดใหญ่ตามที่ต้องการแล้ว คุณหมอจะให้ฉีดยากระตุ้นไข่ให้ตก เพื่อให้พร้อมสำหรับการเก็บไข่ โดยตัวยาที่ใช้คือ hcG, Ovidrel, Diphereline หรือ Cetrotide ส่วนจะใช้ตัวยาอะไร และปริมาณเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับอายุและผลตรวจฮอร์โมนเช่นกันค่ะ


5. เข้ารับการเก็บไข่ และแช่แข็งไข่

การเก็บไข่จะทำหลังจากที่ฉีดยากระตุ้นไข่ให้ตกไปแล้ว 34 - 36 ชั่วโมงค่ะ เป็นการทำหัตถการเล็กภายใต้การดมยาสลบ จึงต้องงดอาหารและน้ำดื่มก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารในขณะที่ผู้เข้ารับการผ่าตัดไม่รู้สึกตัวค่ะ

ขั้นตอนการเก็บไข่ผู้หญิง จะใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

  • วิสัญญีแพทย์ทำการระงับความรู้สึกด้วยการดมยาสลบ

  • จากนั้นแพทย์จะอัลตราซาวด์เพื่อดูตำแหน่งไข่ให้ชัดเจน

  • ใช้เข็มที่ใช้ในการเก็บไข่สอดเข้าไปที่รังไข่ และดูดเซลล์ไข่ออกมาบรรจุในหลอดแก้วสำหรับบรรจุเซลล์ไข่โดยเฉพาะ

  • นำหลอดแก้วไปแช่แข็งไว้ที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส โดยเซลล์ไข่จะเก็บได้นานสูงสุด 10 ปี และเมื่อใดที่สาว ๆ ต้องการตั้งครรภ์ก็สามารถนำไข่ออกมาใช้ปฏิสนธิกับอสุจิฝ่ายชายได้เลย

  • หลังจากเก็บไข่เสร็จแล้ว จะต้องพักฟื้นที่ห้องพักฟื้นประมาณ 1-2 ชั่วโมง ถ้าไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ค่ะ


เตรียมพร้อมมีบุตร ตรวจ AMH ฮอร์โมนไข่สำรอง กับแฮปปี้เบิร์ธคลินิก

สำหรับคู่สามีภรรยาท่านใดที่วางแผนจะมีบุตร สามารถปรึกษาวางแผนมีบุตรกับแฮปปี้เบิร์ธคลินิก คลินิกสูตินรีเวช ได้เลย เรามีแพ็กเกจตรวจ AMH หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ฮอร์โมนไข่สำรอง” ฮอร์โมนที่ผลิตโดยเซลล์รังไข่ ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของไข่ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนไข่สำรองในรังไข่ และการมีภาวะมีบุตรยากโดยเฉพาะ


ตรวจ AMH ราคา


สำหรับคู่รักท่านใดที่แต่งงานกันมาหลายปีแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร ต้องการตรวจสุขภาพและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนเริ่มต้นทำ IUI, ICSI หรือ IVF แฮปปี้เบิร์ธคลินิกก็มีแพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยากที่ครอบคลุมในส่วนนี้เช่นกัน หากสนใจ สามารถติดต่อนัดหมายเพื่อเข้ามาใช้บริการได้ที่ เบอร์โทรศัพท์  081-442-9355 (ตามเวลาทำการคลินิก) และเฟสบุ๊กเพจ happybirth กับหมอชะเอม ได้เลย รับรองว่าไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอนค่ะ



แพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยาก


bottom of page