เชื่อว่าสาว ๆ หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับโรค PCOS หรือภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบกันมาก่อน เพราะเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รวมถึงทำให้ขนดกทั่วร่างกาย และมีบุตรยากด้วย แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถรับมือกับโรคนี้ได้อย่างถูกวิธี แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลไปค่ะ เพราะแฮปปี้เบิร์ธคลินิกได้รวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับโรคนี้มาให้แล้ว สาว ๆ คนไหนที่สงสัยว่า โรค PCOS คืออะไร? ถุงน้ำรังไข่หลายใบอาการเป็นแบบไหน? ตรวจ PCOS ราคาเท่าไหร่? สามารถรักษาได้ไหม? หาคำตอบได้ที่บทความนี้เลย
บทความนี้ตรวจสอบความถูกต้องโดย พญ. ฐิติพรรณ ชยวงศ์รุ่งเรือง (คุณหมอชะเอม)
โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) คืออะไร
ภาวะถุงน้ำรังไข่ (Polycystic ovary syndrome) หรือที่นิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า โรค PCOS คือ ภาวะความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อในร่างกายผู้หญิง ส่งผลให้เกิดฮอร์โมนเพศชาย (androgen) สูงขึ้นกว่าปกติค่ะ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมาได้ เช่น ประจำเดือนไม่ปกติ น้ำหนักตัวเพิ่ม มีขนดก หน้ามัน เป็นสิว หรือภาวะการมีบุตรยากได้
อย่างไรก็ตาม โรค PCOS จริงๆ แล้วไม่ใช่ โรค (disease) เสียทีเดียว ถ้าเรียกให้ถูกต้องเป็น กลุ่มอาการ (Syndrome) มากกว่า เพราะเป็นการรวมกันของอาการผิดปกติหลาย ๆ อย่างค่ะ
สาเหตุของ PCOS (ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ) คือ อะไร
ในปัจจุบันยังไม่สามารถสาเหตุการเกิดกลุ่มอาการ PCOS แน่ชัด แต่คาดว่ามีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยเหล่านี้ค่ะ
พันธุกรรม ผู้หญิงที่มีประวัติครอบครัวเป็น PCOS มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงกว่า พบว่ามียีนบางตัวที่เกี่ยวข้องกับโรค PCOS เช่น ยีนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเพศชาย
ภาวะดื้อต่ออินซูลิน อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วย PCOS เซลล์ในร่างกายจะตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ทำให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น ซึ่งส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ
การอักเสบของร่างกาย โดยมากพบว่าผู้ป่วย PCOS มีระดับสารบ่งชี้การอักเสบในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินและการผลิตฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้น
ถุงน้ำรังไข่ หรือซีสต์รังไข่ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ถุงน้ำรังไข่ หรือซีสต์รังไข่ มี 3 ประเภท ได้แก่
ถุงน้ำรังไข่ปกติ : เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่ เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธ์ุในเพศหญิง ซึ่งจะมีขนาดโตขึ้นจากระดับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และค่อย ๆ ยุบตัวไปเอง
ถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ : จะทำให้รังไข่เกิดการอักเสบจนกลายเป็นถุงน้ำ และภายในถุงน้ำจะมีของเหลวคลายเลือด สีข้น ๆ คล้ายช็อกโกแลตอยู่ จึงทำให้ถูกเรียกว่า “ช็อกโกแลตซีสต์” นั่นเอง
เนื้องอกรังไข่ : จะมีทั้งเนื้องอกธรรมดา เช่น ถุงน้ำเดอร์มอย (Dermoid Cyst) ที่ภายในถุงน้ำจะมีน้ำ ไขมัน เส้นผม กระดูก และฟันอยู่ และอาจมีเนื้องอกชนิดที่เป็นมะเร็ง
สำหรับแนวทางการรักษาถุงน้ำรังไข่หลายใบก็จะขึ้นอยู่กับชนิดของถุงน้ำรังไข่ที่เป็นค่ะ เช่น
ในกรณีที่สาว ๆ เป็นถุงน้ำรังไข่ปกติ และมีขนาดไม่ใหญ่มาก ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายชัดเจน แพทย์อาจรักษาด้วยการให้ยารับประทาน ร่วมกับตรวจติดตามอาการว่าจะยุบไปเองไหม แต่ถ้าถุงน้ำรังไข่มีขนาดใหญ่ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น มีบุตรยาก หรือถุงน้ำรังไข่แตก แพทย์ก็จะแนะนำให้ผ่าตัดออกค่ะ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ อาการเป็นแบบไหน?
สาว ๆ หลายคนคงมีคำถามในใจว่า โรค PCOS มีอาการอย่างไร? ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นถุงน้ำรังไข่หลายใบ? แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเป็น PCOS? เนื่องจากอาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ไม่ใช่เรื่องยาก สาว ๆ สามารถสังเกตจากกลุ่มอาการที่พบบ่อยของภาวะนี้ได้เลยค่ะ!
เช็กลิสต์ 7 สัญญาณเตือนของกลุ่มอาการ PCOS ที่พบบ่อย
ประจำเดือนมาไม่ปกติ : อาจเป็นได้ทั้งแบบมาน้อย มาก หรือมาไม่สม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น บางคนอาจประจำเดือนมาทุก 3-4 เดือน หรือบางคนอาจประจำเดือนมาทุก 2-3 สัปดาห์ ก็เป็นได้ค่ะ
น้ำหนักเพิ่มขึ้น : อาจเกิดจากการดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายเก็บไขมันได้ง่ายขึ้น ในบางคนอาจน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือบางคนอาจน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากจนกลายเป็นโรคอ้วน
มีขนดกตามร่างกาย : โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หน้าอก แขนและขา ตัวอย่างเช่น บางคนอาจมีขนดกขึ้นบริเวณใบหน้าเป็นหนวดเครา หรือบางคนอาจมีขนดกขึ้นบริเวณหน้าอก แขนและขาจนดูเป็นผู้ชายค่ะ
หน้ามัน เป็นสิวง่าย : เกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่สูงขึ้น ตัวอย่างเช่น บางคนอาจหน้ามันจนต้องล้างหน้าบ่อยๆ หรือบางคนอาจเป็นสิวบ่อยๆ ใครที่มีปัญหาสิวเรื้อรังไม่หายสักที บางทีอาจจะต้องเปลี่ยนจากนัดหมอผิวหนัง มาเจอหมอสูติกันบ้างนะคะ
มีบุตรยาก : เกิดจากการตกไข่ผิดปกติ ตัวอย่างเช่น บางคนอาจไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หรือบางคนอาจตั้งครรภ์ได้ยาก
คลำเจอก้อนที่หน้าท้อง : หากสาว ๆ มีหน้าท้องขยายใหญ่ขึ้น อ้วนขึ้น ท้องอืด และคลำเจอก้อนที่หน้าท้อง ทั้ง ๆ ที่มีอาการเบื่ออาหารและน้ำหนักตัวลดลง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะถุงน้ำรังไข่ได้ค่ะ
ผมบาง ศีรษะล้าน : เป็นผลกระทบที่มาจากการมีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงเกินไปค่ะ
ถ้าหากว่า สาว ๆ พบว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ แนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมค่ะ
จะเกิดขึ้นอะไรขึ้นถ้าเป็นถุงน้ำรังไข่หลายใบแล้วไม่ทำการรักษา?
อาการภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS จะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างชัดเจน จึงทำให้สาว ๆ หลายคนที่เป็นภาวะนี้อยู่ เกิดความชะล่าใจ และไม่ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ
แต่รู้หรือไม่ว่า ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้มากกว่าที่คิด ยกตัวอย่างเช่น
ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน โรคตับอักเสบ และโรคเบาหวานชนิดที่ 2
ส่งผลกระทบต่อโพรงมดลูก โดยจะทำให้มีการเลือดออกผิดปกติ หรือเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
ในกรณีที่เป็นถุงน้ำผิดปกติ เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ อาจส่งผลให้ช็อกโกแลตซีสต์มีขนาดใหญ่ขึ้นจนไปทำลายเนื้อรังไข่ที่ปกติ และส่งผลให้เข้าสู่วัยประจำเดือนก่อนวัยอันควรได้ค่ะ
ในบางราย ก้อนรังไข่อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเสี่ยงต่อการปริ แตก รั่ว หรือบิดขั้วบริเวณปีกมดลูกได้
การตรวจ PCOS (ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ)
สาว ๆ หลายคนมักเข้าใจผิดว่า การตรวจ PCOS เป็นเรื่องที่ยาก และมีขั้นตอนที่ซับซ้อน ทั้ง ๆ ที่เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่ตรวจได้ไม่ยาก และใช้เวลาตรวจไม่นานเลย โดยขั้นตอนการวินิจฉัยกลุ่มอาการ PCOS มีดังนี้
ซักประวัติรอบระดู : คุณหมอจะดูว่า สาว ๆ มีรอบระดูห่างกันกี่วัน มากกว่า 35 วันหรือไม่ และมีการขาดหายของระดูหรือเปล่า
ตรวจร่างกาย : โดยจะดูอาการแสดงของภาวะฮอร์โมนเพศชายเกิน เช่น หน้ามัน เป็นสิว ขนดก ศีรษะล้าน ภาวะอ้วนลงพุง และอาการแสดงของภาวะดื้ออินซูลิน เช่น รอยดำตามผิวหนังบริเวณข้อพับ เช่น ด้านหลังต้นคอ รักแร้ หรือใต้ราวนม
ตรวจเลือด : เพื่อดูระดับฮอร์โมนเพศชาย (androgen) และฮอร์โมนอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับ PCOS เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) ฮอร์โมนแอนดรอสเทนีออน (androstenedione) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone)
ตรวจอัลตราซาวด์ : เพื่อดูลักษณะของรังไข่ว่ามีถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนมากหรือไม่ค่ะ
แนวทางการรักษา PCOS (ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ)
หลังจากวินิจฉัยแล้วว่าเป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ คุณหมอก็จะวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละคน ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค โดยการรักษาอาจทำได้หลายวิธี เช่น
ให้ยาฮอร์โมน : เช่น ยาคุมกำเนิด ยากระตุ้นการตกไข่ ยาลดฮอร์โมนเพศชาย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน : เช่น เพิ่มการออกกำลังกาย ปรับโภชนาการ ลดน้ำหนัก และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ผ่าตัด : ในกรณีที่ไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ด้วยยาได้ ถุงน้ำรังไข่มีขนาดใหญ่เกินไป หรือมีความเสี่ยงที่ถุงน้ำรังไข่แตก แพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดเอาถุงน้ำรังไข่ออก ซึ่งจะมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิดและผ่าตัดแบบส่องกล้อง
ตรวจ PCOS ราคาเท่าไหร่?
สำหรับสาว ๆ กำลังมองหาคลินิกสูตินรีเวชที่ให้บริการตรวจและรักษา PCOS ที่ดูแลโดยคุณหมอผู้หญิง และเจ้าหน้าที่ผู้หญิง สามารถนัดหมายมาพบคุณหมอที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิกได้เลยค่ะ
เราให้บริการตรวจ PCOS ราคาเริ่มต้นที่ 3,400 บาท* รวมครบทั้งตรวจร่างกาย ตรวจฮอร์โมน ตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ ตรวจภายใน และตรวจมะเร็งปากมดลูก
หากสาว ๆ สนใจ สามารถจองคิวออนไลน์ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-442-9355 และเฟสบุ๊กเพจ happybirth กับหมอชะเอม ได้เลยค่ะ คุณหมอของเราพร้อมที่จะให้การดูแลรักษาอย่างใส่ใจ ใจดี และเป็นส่วนตัวมากที่สุด รับรองว่าไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอนค่ะ
เป็น PCOS ดูแลตัวเองยังไง?
คำแนะนำแรกสำหรับสาว ๆ ที่เป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS คือ ควรมาพบหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม จากนั้นให้ดูแลตนเองด้วยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ
ลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ : น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้อาการต่างๆ ของ PCOS รุนแรงขึ้น เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขนดกตามร่างกาย หน้ามัน เป็นสิวง่าย เป็นต้น
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ : การออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดความเครียด และลดอาการต่างๆ ของ PCOS
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : ควรรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและฮอร์โมนเพศชาย
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ : แอลกอฮอล์อาจทำให้อาการต่างๆ ของ PCOS รุนแรงขึ้น
เลิกสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่อาจทำให้อาการต่างๆ ของ PCOS รุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น
วิธีป้องกันภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
วิธีป้องกันภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS จะมุ่งเน้นไปที่การลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ยกตัวอย่างเช่น
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่
หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้งขัดขาว ของทอด ของหวาน ของมัน
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และบริหารจัดการความเครียดให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมน
รวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
นอกจากข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบแล้ว เพื่อช่วยให้สาว ๆ เข้าใจเกี่ยวกับภาวะนี้มากขึ้น เราได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PCOS มาให้ด้วย สามารถไปดูคำถามและคำตอบได้เลยค่ะ
1. ถุงน้ำรังไข่ ปกติมีกี่ใบ?
โดยปกติแล้ว ในรังไข่จะมีถุงน้ำใบเล็ก ๆ อยู่ไม่กี่ใบ ซึ่งเป็นถุงน้ำที่พร้อมจะตกไข่ และจะยุบไปเองหลังจากหมดรอบเดือนค่ะ แต่ในคนที่ผิดปกติ จะสามารถพบถุงน้ำในรังไข่ได้หลายสิบใบเลย
2. โรค PCOS รักษาหายไหม?
สามารถช่วยให้อาการดีขึ้น และไม่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพได้ค่ะ แต่จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ยกเว้นว่า สาว ๆ จะไม่ต้องการมีบุตร และทำการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก หรือเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือนแล้ว
3. ผู้ที่มีภาวะ PCOS ห้ามกินอะไรบ้าง?
หากสาว ๆ มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ จะแนะนำให้ลดการรับประทานแป้งขัดสี ของทอด ของมัน ของหวาน และอาหารฟาสต์ฟู้ด เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้อาการ PCOS รุนแรงขึ้นค่ะ
4. ผู้ที่มีภาวะ PCOS ฮอร์โมนอะไรสูง?
สาว ๆ ที่มีภาวะ PCOS จะมีระดับฮอร์โมนแอนโดรเจนสูง ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่จะส่งผลให้มีภาวะขนดก ผิวมัน เป็นสิวมาก ผมบาง ศีรษะล้าน และมีบุตรยากค่ะ
5. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบมักเป็นตอนอายุเท่าไหร่?
โดยส่วนใหญ่จะพบในวัยเจริญพันธุ์ หรืออายุประมาณ 25-35 ปีค่ะ
6. PCOS ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งไหม?
หากเป็นภาวะถุงน้ำรังไข่แล้วไม่ทำการรักษา ในระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ค่ะ
7. เป็น PCOS สามารถมีลูกได้ไหม?
สามารถมีลูกได้ แต่จะมีลูกยากค่ะ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีบุตรยาก หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็น PCOS แนะนำให้เข้ารับการตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีที่สุดค่ะ
8. เป็น PCOS ต้องตรวจภายในไหม?
ไม่ว่าจะเป็น PCOS หรือไม่เป็น ผู้หญิงทุกคนที่เข้าสู่วัยเจริญพันธ์ุ หรือผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ก็ควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปีค่ะ
9. ถุงน้ำในรังไข่แตกอันตรายไหม?
อันตรายมากค่ะ เพราะจะทำให้มีอาการปวดอย่างรุนแรง และเกิดการตกเลือดในช่องท้อง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ และทำให้เสียชีวิตได้ค่ะ
10. PCOS น่ากลัวไหม?
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือกลุ่มอาการ PCOS ไม่ได้น่ากลัวเลย เพราะสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ ขอเพียงแค่สาว ๆ เข้ารับการตรวจและดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้แน่นอนค่ะ
สรุปเรื่องภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
PCOS คือ ความผิดปกติของร่างกายที่ส่งผลให้เกิดฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมาได้ เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ น้ำหนักเพิ่มขึ้น มีขนดกตามร่างกาย หน้ามัน เป็นสิวง่าย และมีบุตรยาก
สาว ๆ คนไหนที่สงสัยว่าตัวเองมีภาวะ PCOS อย่ากังวลไปนะคะ เราสามารถดูแลตัวเองและรักษาให้หายได้ค่ะ สามารถนัดหมายเข้ามาพบคุณหมอที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิกได้เลยค่ะ เราเป็นคลินิกสูตินรีเวชที่ให้การดูแลโดยคุณหมอผู้หญิงที่เข้าใจสาว ๆ ทุกวัย ให้บริการโดยเจ้าหน้าที่ผู้หญิง มีความเป็นส่วนตัวสูง สามารถเข้ามาใช้บริการอย่างสบายใจได้เลยค่ะ
ใครที่สนใจสามารถติดต่อนัดหมายมาตรวจภายในที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิกตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-442-9355 และเฟสบุ๊กเพจ happybirth กับหมอชะเอม ได้เลยค่ะ คุณหมอของเราพร้อมที่จะให้การดูแลรักษาอย่างใส่ใจ ใจดี และเป็นส่วนตัวมากที่สุด รับรองว่าไม่ทำให้ผิดหวังแน่นอนค่ะ
Comments