โรคหูดหงอนไก่ (Genital Wart, Condyloma Acuminata) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) สามารถติดต่อได้ทั้งผ่านการสัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์ได้ ไม่ว่าจะป้องกันด้วยถุงยางอนามัย หรือไม่ก็ตาม อีกทั้งผู้ติดเชื้อในระยะแรก ๆ มักไม่มีอาการแสดง จึงไม่แปลกใจเลยที่โรคนี้ยังพบได้บ่อยในปัจจุบัน
สำหรับสาว ๆ คนไหนที่กังวลเกี่ยวกับโรคหูดหงอนไก่ หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคนี้อยู่ แฮปปี้เบิร์ธคลินิก คลินิกสูตินรีเวช ได้รวม 8 คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับหูดหงอนไก่ ผู้หญิง มาให้แล้ว ทุกคำถามตอบโดยคุณหมอ จะมีคำถามอะไรน่าสนใจบ้างนั้น ตามไปดูกันค่ะ
1. ถ้าเป็นหูดหงอนไก่ ผู้หญิง ฉีดวัคซีน HPV ได้ไหม
สาว ๆ ที่เป็นโรคหูดหงอนไก่ สามารถฉีดวัคซีน HPV เพื่อลดความรุนแรงของโรค และป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์อื่น ๆ ที่ยังไม่ติดได้ค่ะ โดยแนะนำให้เลือกฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ เพราะป้องกันสายพันธุ์เชื้อไวรัส HPV ได้มากที่สุดในปัจจุบันค่ะ
2. สาว ๆ มีโอกาสติดโรคหูดหงอนไก่ซ้ำไหม
สาว ๆ มีโอกาสกลับมาเป็นหูดหงอนไก่ซ้ำได้ประมาณ 30-70% หลังสิ้นสุดการรักษาไปแล้ว 6 เดือน สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ยาไม่มีประสิทธิภาพ ติดเชื้อซ้ำจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือเกิดรอยโรคจากเชื้อในร่างกายของตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นซ้ำ จึงแนะนำให้รักษาหูดหงอนไก่ (ผู้หญิง) กับสูตินรีแพทย์ เท่านั้น ไม่ควรซื้อยามารักษาด้วยตนเองค่ะ
3. ทำยังไงให้หายจากโรคหูดหงอนไก่ ผู้หญิง เร็ว ๆ
วิธีรักษาหูดหงอนไก่ จะรักษาด้วยการจี้หูดด้วยยาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จนกว่ารอยโรคจะหายไป ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 4 - 5 ครั้ง หรือประมาณ 1 - 2 เดือน ถ้าสาว ๆ อยากหายเร็วขึ้น ก็สามารถฉีดวัคซีน HPV เพื่อลดความรุนแรงของโรคได้ค่ะ
4. เป็นโรคหูดหงอนไก่แล้ว มีโอกาสเป็นโรคอื่นไหม
โดยทั่วไปแล้ว การเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคใดโรคหนึ่ง มักมีแนวโน้มจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม หรือเริมที่อวัยวะเพศหญิง ถ้าสาว ๆ รู้ตัวว่าเป็นโรคหูดหงอนไก่แล้ว ก็ควรที่จะตรวจ STD ผู้หญิง เพื่อคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ รวมถึงตรวจภายใน, ตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ และตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยค่ะ
แฮปปี้เบิร์ธคลินิก คลินิกสูตินรีเวช มีแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในผู้หญิง หรือผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศมาแล้ว สูงสุดถึง 15 เชื้อ ได้แก่
หนองในเทียม : Chlamydia trachomatis (CT)
หนองในแท้ : Neisseria gonorrhoeae (NG)
พยาธิช่องคลอด : Trichomonas vaginalis (TV)
หนองในเทียม : Mycoplasma homonis (MH)
หนองในเทียม : Mycoplasma genitalium (MG)
หนองในเทียม : Ureaplasma urealyticum (UU)
หนองในเทียม : Ureaplasma parvum (UP)
เริม : Herpes simplex Virus 1 (HSV1)
เริม : Herpes simplex Virus 2 (HSV2)
ซิฟิลิส : Teponema pallidum (TP)
แบคทีเรียในช่องคลอด : Gadnerella vaginalis (GV)
เชื้อรา : Candida albicans (CA)
เชื้อรา : Candida glabrata (CG)
แผลริมอ่อน : Haemophilus ducreyi (HD)
แบคทีเรียในช่องคลอด : Group B Streptococcus (GBS)
ถ้าหากสนใจ สามารถจองคิวออนไลน์ หรือนัดหมายที่เบอร์โทรศัพท์ 081-442-9355 (ตามเวลาทำการคลินิก) หรือเฟสบุ๊กเพจ happybirth กับหมอชะเอม ได้เลยค่ะ
5. หูดหงอนไก่สามารถลามได้ไหม
ก้อนที่เกิดจากหูดหงอนไก่ สามารถโตขึ้น เพิ่มจำนวนมากขึ้น และลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ เมื่อพบว่าตนเองเป็นโรคหูดหงอนไก่แล้ว จึงควรรีบมาพบคุณหมอเพื่อรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ นอกจากนี้โรคหูดหงอนไก่ยังถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยค่ะ
6. หูดหงอนไก่อยู่ในร่างกายกี่ปี
สำหรับสาว ๆ ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง หลังจากที่ได้รับเชื้อไวรัส HPV เข้าสู่ร่างกายแล้ว มักจะไม่มีอาการใด ๆ และร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้เองภายใน 2 ปี แต่สำหรับคนที่ได้รับเชื้อ และทำให้เกิดรอยโรคตามมา เชื้อไวรัสอาจคงอยู่ในร่างกายได้นานถึง 10 ปี แต่เราสามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และฉีดวัคซีน HPV ค่ะ
7. หูดหงอนไก่รักษาเองได้ไหม
ไม่แนะนำให้รักษาด้วยตนเอง เนื่องจากการรักษาหูดหงอนไก่จะต้องทำลายรอยโรคด้วยการจี้หูดด้วยยา จี้ไฟฟ้า หรือตัดออก ร่วมกับกระตุ้นภูมิต้านของร่างกายให้สามารถกำจัดเชื้อไวรัส HPV ได้รวดเร็ว โดยการฉีดวัคซีน HPV และทายากระตุ้นภูมิต้านทานเฉพาะที่ติดต่อกันหลายสัปดาห์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องทำภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทางเท่านั้นค่ะ
8. หูดหงอนไก่ ผู้หญิง อันตรายไหม
โรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิงเป็นโรคอันตรายค่ะ สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หลังจากที่รักษาจนหายดีแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้บ่อย ๆ ถ้าดูแลตัวเองไม่เหมาะสม อีกทั้งยังส่งผลต่อรูปลักษณ์จนทำให้สาว ๆ หมดความมั่นใจในตัวเอง และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกด้วยค่ะ
ไม่เพียงเท่านี้! ถ้าสาว ๆ เป็นโรคหูดหงอนไก่ขณะตั้งครรภ์ ยังอาจทำให้ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ หรือหูดหงอนไก่อาจมีขนาดใหญ่จนขัดขวางการคลอดแบบธรรมชาติจนต้องผ่าคลอดได้ หรือทำให้ทารกติดเชื้อไวรัส และเกิดหูดหงอนไก่ที่คอหอย หลอดลม หรือเส้นเสียงได้ค่ะ
เป็นอย่างไรกันบ้างกับ 8 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหูดหงอนไก่ในผู้หญิง หวังว่าจะช่วยให้สาว ๆ เข้าใจโรคนี้กันมากขึ้น รู้ว่าโรคหูดหงอนไก่เป็นโรคที่อันตราย เมื่อเป็นแล้วจะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมา
สำหรับสาว ๆ คนไหนที่สงสัยว่าตนเองเป็นโรคหูดหงอนไก่ สามารถเข้ามาตรวจหูดหงอนไก่ (ผู้หญิง) ที่แฮปปี้เบิร์ธคลินิก คลินิกสูตินรีเวช ได้เลย เรามีบริการตรวจและรักษาหูดหงอนไก่สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ดูแลโดยสูตินรีแพทย์ผู้หญิงและเจ้าหน้าที่ผู้หญิงทุกคน หากสนใจ สามารถติดต่อนัดหมายเพื่อเข้ามาใช้บริการได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 081-442-9355 (ตามเวลาทำการคลินิก) และเฟสบุ๊กเพจ happybirth กับหมอชะเอม ได้เลยค่ะ รับรองว่าจะช่วยให้สาว ๆ เข้ามาใช้บริการได้อย่างสบายใจและเป็นส่วนตัวที่สุดแน่นอนค่ะ
Comments